บทที่3 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

หน่วยรับข้อมูล( Input Unit )

หน่วยความจำ ( Memory Unit )

หน่วยประมวลผลกลาง ( Output Unit )

อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา

บทนำ

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น

เครื่องคอมพิวส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลัก ๆ ประกอบไปด้วย

ตัวเครื่อง ( Case ) ทำหนาที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากการนำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่อง

จะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลง ไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น

จอภาพ ( Monitor ) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ

ดิสก์ไดร์ฟ ( Disk drive ) เป็นอุปกรณ์อ่านเ-ขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต

คีย์บอร์ด ( Keyboard ) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

เมาส์ ( Mouse ) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงอยู่บนจอภาพ

ลำโพง ( Speaker ) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นแบบเสียง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

จำแนกหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ

1) หน่วยรับข้อมูล( Input Unit ) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

2) หน่วยประมวลผลกลา ( Central Processing Unit- CPU ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ

3) หน่วยความจำ (Memory Unit ) ทำหน้าที่เบข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล

4) หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว

5) อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equeipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพว่งเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น

หน่วยรับข้อมูล( Input Unit )ฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่

1) คีย์บอร์ด ( Keybord ) อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต ( Operator )

2) เมาส์ ( Mouse ) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่นเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เม้าส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่

แบบทางกล ( Mechanical ) ใช้ลูกกลิ้งกลม

แบบใช้แสง ( Optical mouse )

แบบไร้สาย ( Wireless Mouse )

3) OCR ( Optical Character Reader ) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารทื่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง( Barcode reader )

4) OMR ( Optical Mark Reader ) อุปกนำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ

5) เครื่องอ่านพิกัส ( Digitlzer )เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลมีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยมมีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกดโดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัสของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟฟิกต่างๆ

6) สแกนเนอร์ ( Scanner ) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

-แบบเลื่อนกระดาษ ( Sheet- Fed Scanner )สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อยๆ เลื่อน

หน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่

-แบบแท่งนอน ( Flatbed scanner )สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นแล่ม

-แบบมือถือ ( Hand-held Scanner ) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนนอร์ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน

7 ) ปากกาแสง ( Light Pen ) เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการวาดภาพ

8) จอยสติก ( Joy Sticks ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีทั้งเป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือพวงมาลัย

9) จอสัมผัส ( Touch Screen ) เป็นจอภาพลักษณะพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน

10) เครื่องทอมินัส ( Point of Sale Terminal ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้าเครื่องทอมินัสนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันเกิดจากการกรอกข้อมูลที่มีจำนวนมาก

11) แผ่นสัมผัส ( Touch Pads ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดส่งไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

12) กล้องดิจิทัล (Digital Camera ) เป็นอุปกรณรับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานดหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไปแต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูลข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้

13) อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำ ( Memmory Unit )

เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ

1) หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) หรือเรียกว่าหน่วยความจำภายใน ( Internal Memory ) สามาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

รอม ( Read Only Memmory – ROM ) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้วสามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป

แรม (Random Access Memory ) เป็นหน่วยความจำที่สามาเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายทันที

2) หน่วยความจำรอง ( Second Memory ) หรือหน่วยความจำภายนอก ( External Memory ) เป็นหน่วยความจำที่อาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่าง ๆ ได้แก่

ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นฮาณ์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฎิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

ฟล็อบปี้ดิสก์ ( Floppy Disk ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อบันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ ( Mylar ) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์เท่านั้น

ซีดี ( Compact Disk – CD ) เป็นอุปกรณืบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต ( Poly Carbonate ) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกเข้อมูลเป็นสายเดียว ( Single Track ) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตรปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประแภท ได้แก่ ซีดีเพลง ( Audio CD )วีซีดี (Video CD – VCD ) ซีดี – อาร์ (CD Recordable – CD –R ) ซีดี-อาร์ดับบลิว ( CD – Rewritable –CD-RW ) และ ดีวีดี (Digital video Disk – DVD )

3) รีมูฟเอเบิล ไดร์ฟ (Removable Drive ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเครื่อน (Drive ) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์มีตั้งแต่ 8, 16, 32, 64, 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive ,Thump Drive, Flash Drive

4) ซิบไดร์ฟ ( Zip Drive ) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปดิสก์จะเก็บได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์

5) Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆกับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุ มากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกข้อมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์

6) เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูลซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์

7) การ์ดแมมโมรี่ ( Memory Card ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่นกล้องดิจิทัส คอมพิวเตอร์มือถือ ( Personal Data Assistant – PDA ) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

หน่วยประมวณผลกลาง ( Central Prossing Unit – CPU )

หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ ( Processor ) หรือซิป นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

1) หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic & Logical : ALU ) หน่วยคำนวณตรรกะทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงเปรียบเทียบตามเงื่นไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือเท็จ ได้

2) หน่วยควบคุม ( Control Unit ) หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่ยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium lll, Pentium 4, Pentium M ( Centrino ) , Celeron, Dulon, Athlon

หน่วยแสดงผล ( Output Unit )

เป็นอุปกรณ์ส่งออก ( Output device ) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เมื่อซีพียูทำการประมวลผล

1) จอภาพ ( Monitor)เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube )และ จอภาพแบบ LCD ( Liqud Crystal Display )

2) เครื่องพิมพ์ (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของเสียง สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแผงวงจรเกี่ยวกับเสียง (Sound card ) ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลไปเป็นเสียง ขั้นตอนที่ 3 : Execute Instruction ALU ปฎิบัติงานตามคำสั่งที่ตีความได้ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณทางคณิตศาตร์หรือการเปรียบเทียบ

อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ

1) โมเด็ม(Modem) มาจากคำว่า(modulate/demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ติดต่อกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันโมเด็มมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า External Modem

2) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย ( LAN card ) เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเวิร์คสเตชั้น( Workstation) และเครื่องให้บริการข้อมูล (Server)ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจำเป็นต้องติดตั้งแลนการ์ดการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1) ความจำเป็นใช้งาน งานที่ทำจำเป็นต้องใช้เครื่งคอมพิวเตอร์หรือไม่?เนื่องจากเพราะคอมพิวเตอร์ล้าสมัยเร็ว หากพิจารณาแล้วว่าจำเป็นก็ควรซื้อแต่ต้องเลือกเครื่องที่เหมาะสมกับงาน

2) วัตถุประสงค์ในการใช้งาน ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานอะไร? หลังจากที่ตัดสินใจที่จะซื้อคอมพิวเตอร์แล้วควรพิจารณาวัตถุประสงค์ที่ต้องการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน เช่น นำมาใช้ในงานสำนักงาน นำมาใช้เพื่อความบันเทิง เป็นต้น

3) งบประมาณมีเท่าไร? เมื่อทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว ขั้นต่อมาต้องพิจารณางบประมาณที่จะสามารถจัดซื้อคอมพิวเตอร์ได้ตรงกับความต้องการและการใช้งานก็จะเกหิดประโยชน์สูงสุด

คุณสมบัติเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ควรพิจารณา

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Intel ,AMD และ Celeron ส่วนความเร็วของCPU ) ควรอยู่ในระดับ 1.4 – 2.4 กิกะเฮรตซ์ แต่การเลือกใช้ซีพียูใดก็ตามมีผลต่อการเลือกใช้แผงวงจรหลักด้วย เช่น

ซีพียู AMD Duron , Athion จะใช้กับแผงวงจรหลักแบบ Socket A

ซีพียู Intel Pentium , Celeron จะใช้กับแผงวงจรหลักแบบ Sockrt 370

ซีพียู Intel Pentium 4 จะใช้กับแผงวงจรหลักแบบ Socket 478

แผงวงจรหลัก เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผลวงจรทำหน้าที่เป็นตัว เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกซื้อแผงวงจรหลักที่สนับสนุนอุปกรณ์ใหม่ๆ เพราะจะสามารถใช้งานได้นานและหาอุปกรณ์เพื่อทำการอัพเกรดได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแผงวงจรหลักใหม่

แรม ควรเป็นหน่วยความจำแบบ DDR RAM และควรมีขนาดอย่างน้อย 128 เมกะไบต์เป็นอย่างน้อย โดยปัจจุบันมีความเร็ว Bus ตั้งแต่ 66 , 100 ,133 เมกกะเฮิรตซ์ ฮาร์ดดิสก์ควรเป็นแบบมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ ATA โดยมีขนาด 20 – 40 กิกะไบต์เป็นอย่างน้อย

การ์ดแสดงผล ควรสนับสนุนการทำงานแบบสี แบบ VGA , SVGA หรือ XGA 3D เมื่อต้องการใช้งานแบบ 3 มิติ

จอภาพ ควรมีขนาด 15 – 17 นิ้วเป็นอย่างน้อยซึ่งเลือกใช้แบบสี แบบ CRT หรือ LCD ขึ้นอยู่กับงบประมาณ เนื่องจากจอภาพแบบ LCD จะมีราคาสูงกว่า CRT

ซีดีรอมไดร์ฟควรมีในการอ่านข้อมูลตั้งแต่ 50 x ขึ้นไป

อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง คอมพิวเตอร์ที่จะซื้อควรมีฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ฟ ขนาด 3.5 นิ้ว

การ์เสียง ควรเป็นแบบ PCI และควรสนับสนุนเสียงแบบ 3 มิติถ้าต้องการใช้งานบันเทิง เช่น การเล่นคาราโอเกะ รวมทั้งมีลำโพงด้วย

อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย ถ้าต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตควรจัดหาโมเด็มมาใช้งานโดยต้องพิจารณาลักษณะการใช้งานด้วย เช่น ถ้าจำเป็นต้องเครื่อนย้ายบ่อยควรเลือกใช้โมเด็มแบบภายนอก(External Modem) หรือการใช้งานไม่จำเป็นต้องมีการเครื่อนย้ายควรเลือกใช้โมเด็มสำหรับติดตั้งภายใน (Internal Modem )

โยควรมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 56 bps เป็นอย่างน้อย

เครื่องพิมพ์ ควรใช้ให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ที่ต้องการ ได้แก่

เครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix เหมาะกับงานพิมพ์ที่สามารถทำสำเนาเอกสารได้

เครื่องพิมพ์แบบ Ink Jet เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการภาพสี งานกราฟิกและควรเลือกรายละเอียดที่เหมาะกับงาน รวมถึงควรพิจารณาการใช้งานของตลับหมึก กล่าวคือตลับหมึกขาวดำควรแยกเป็นอิสระหมึกสี

เครื่องพิมพ์แบบ Laser Printer เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูง ต้องการความเร็วในการพิมพ์สูง เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอกสารที่เน้นข้อความเป็นหลัก

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา

โน้ตบุ๊ก เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพา ภายในตัวเครืองประกอบด้วย จอภาพ เมาส์ คีย์บอร์ด ลำโพง โดยไม่ต้องต่ออุปกรณ์เพิ่มจากภายนอก มีแบตเตอรี่ช่วยให้สามารถนำเครื่องออกนอกสถานที่ได้โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟ

เดสก์โน้ต เป็นคอมพิวเตอร์ที่นำเอาซีพียูของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา แต่จะไม่มีแบตเตอรี่ จึงต้องเสียบปลั๊กไฟเวลาใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ใช้งานในสถานที่ภายในเดียวกัน

แทบเล็ต พีซี เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มีลักษณะคล้ายโน๊ดบุ๊กทั่วไปต่างกันตรงที่ไม่มีคีบอร์ด และเมาส์ในการป้อนคำสั่ง แต่จะใช้ปากกาสไตรัส เป็นอุปกรณ์ป้อนคำสั่งผ่านทางหน้าจอทัสกรีน โดดเด่นเครือข่ายแบบไร้สายช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการรับ-ส่งข้อมูล ทั้งนี้แทบเล็ต พีซี ได้พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานนอกสถารที่โดยเฉพาะ

คุณสมบัติที่ควรพิจารณา

จอภาพ ควรมีขนาดใหญ่ ดูได้ชัดเจน ควรเป็นแบบ TFT ความละเอียดควรกำหนดอย่างน้อย

800 × 600 จำนวนสีที่สามารถกำหนดได้อย่างต่ำควรเป็น 16 บิต

แบตเตอรี่ ควรใช้ ลิเธียมไอออน เพราะว่ามีอายุการใช้งานนานที่สุด

หน่วยความจำ ควรติดตั้งแรมให้มากเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อย 128 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสอย่างน้อย 5 กิกไบต์ ขึ้นไปเพราะว่าโปรแกรมปัจจุบันส่วนใหญ่จะบันทึกผ่านทางแผ่นซีดี

โมเด็ม ถ้าต้องการใช้อินเตอร์เน็ตต้องการส่งแฟกซ์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์

เน็ตเวิร์คการ์ด สำหรับเชาอมระบบเครือข่าย ถ้ามีการใช้งานด้านระบบเครือข่าย (Network)





วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก